Category Archives: สุขภาพ

ศูนย์จีโนมฯ เตือนไทยควรระวัง เดลตาครอน XBC

สุขภาพ

ศูนย์จีโนมฯ เตือนไทยควรระวัง เดลตาครอน XBC หลังฟิลิปปินส์ติดเกินร้อย ชี้แพร่เร็วโจมตีปอด

รายงานสถานการณ์โควิด 19 ว่า นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยถึงแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อโควิด 19 และผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังคงตัว ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ ในช่วงเริ่มต้นการระบาดครั้งใหม่ที่มีลักษณะเป็น Small Wave หลังจากการปรับให้โควิดเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมาโดยพบว่า เริ่มมีผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดท่องเที่ยว โดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งจังหวัดส่วนใหญ่รับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทย และต่างชาติเพิ่มขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมากขึ้นด้วยขณะที่ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อมูลแจ้งเตือนเฝ้าระวังโควิด “เดลตาครอน XBC” ลูกผสมระหว่างเดลตา และโอมิครอน BA.2 หลังพบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1 โดยข้อมูลดังกล่าวถูกโพสต์ลงในเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics รายละเอียดมีดังนี้นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง เดลตาครอน ในช่วงการระบาดของโควิดปลายปีที่ 3 ซึ่งโอมิครอนกำลังอ่อนกำลังลง ดูเหมือนเดลตาครอนหลายสายพันธุ์จะระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น XBC, XAY, XBA และ XAW

สุขภาพ

โดยเฉพาะเดลตาครอน XBC มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิดสายพันธ์ดั้งเดิม อู่ฮั่น มากที่สุดถึงกว่า 130 ตำแหน่ง จากการถอดรหัสพันธุ์กรรมทั้งจีโนมของ “เดลตาครอน” ประเมินว่าเป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่าง “เดลตา” และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือน “โอมิครอน”เมื่อต้นปี 2565 มีรายงานการตรวจพบเดลตาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่ง จากนั้นได้สูญหายไปไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่พอเข้าช่วงปลายปีกลับพบเดลตาครอนในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้ง รูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่ทั้งนี้ กรณีที่เลวร้ายที่สุด ลูกผสมเดลต้า-โอมิครอนอาจมีอันตรายพอ ๆ กับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอมิครอนเกือบ 2 เท่า แต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมถือเป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอมิครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิดรุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตาผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าทำไมโควิด-19 จึงเปลี่ยนจากโรคทางเดินหายใจส่วนล่างในช่วง 2 ปีแรกที่เดลตาและสายพันธุ์ก่อนหน้าระบาด มาเป็นโรคทางเดินหายใจส่วนบนที่มีความรุนแรงลดลงในปีที่ 3 คาดอาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนอกเหนือไปจากโปรตีนหนามซึ่งไวรัสใช้ในการเกาะติดเซลล์ของมนุษย์และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันอย่างไรก็ตาม ศูนย์จีโนมฯ ระบุด้วยว่า ประเทศไทยควรกังวล เพราะฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนซึ่งอยู่ใกล้กับไทย ขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน XBB จำนวนถึง 81 ราย พร้อมกับพบลูกผสม XBC ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย